วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Driving in Flood

Driving in Flood (การขับรถในน้ำ?...)

ไม่ได้อยากจะขับรถเล่นในน้ำหรอกนะ แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ เมื่อไหร่จะขับรถบนถนนที่ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องมาขับรถเล่นกันในน้ำอีก คงเป็นอาการลำพึงลำพันของใครหลายๆ คนที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีน้ำท่วมขังในถนนที่ต้องใช้ในการเดินทาง และก็หวังว่าสักวันหนึ่งการขับรถแบบนี้จะต้องมีอยู่แค่ในประวัติศาสตร์ในการขับรถเท่านั้น? #(

การเตรียมตัวล่วงหน้าเพื่อการป้องกันยังคงเป็นเรื่องที่ต้องทำก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ เพื่อการขับรถอย่างปลอดภัย หากแต่การป้องกันนั้นไม่สามารถที่จะทำได้ เราก็คงต้องหันมาหาหนทางแห่งการแก้ไข ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยากกว่าและก็มักจะแก้ไขอะไรไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่? สถานการณ์น้ำท่วมขังบนถนน เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาจำนวนมากและการระบายน้ำออกจากถนนทำได้ไม่ทัน ซึ่งภัยธรรมชาติที่ว่านี้ผู้ที่ใช้รถมาเป็นเวลานานหลายปีก็คงพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า ช่วงไหนที่ฝนจะตกและน้ำจะมา และถนนเส้นไหนบ้างที่จะมีน้ำท่วมขัง แต่ความจำเป็นในการที่จะต้องใช้ถนนในเส้นทางที่ว่านี้ ก็คงจะตัองขับรถผ่านไปให้ได้

การขับรถให้ช้ากว่าสภาพถนนปกติ และรักษาระดับความเร็วให้ได้ เป็นเทคนิคที่ยังคงใช้ได้เป็นอย่างดี สำหรับถนนที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งความเร็วในการขับนั้นขึ้นอยู้กับปริมาณน้ำที่ท่วมขัง หากมีปริมาณน้ำสูงจนรู้สึกได้ว่ามีน้ำแตะที่พื้นรถนั้นแสดงว่าระดับน้ำสูงมากแล้วไม่ควรที่จะขับรถในเส้นทางนี้ต่อไป ให้ขับรถชิดทางด้านขวาเพราะถนนส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะลาดเอียงไปทางซ้าย หากยังไม่สามารถหาทางออกจกถนนที่มีปริมาณน้ำท่วมขังมากนี้ได้ จะต้องเพิ่มความระมัดระวังและไม่ให้เครื่องยนต์ดับด้วยการปิดแอร์เพื่อไม่ให้พัดลมทำงานเพราะพัดลมจะทำให้น้ำกระจายในห้องเครื่องยนต์เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ดับได้ ให้ขับรถทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าเพื่อให้เห็นแนวทางการจราจร และตำแหน่งของรถคันหน้าที่ปลอดภัย เปิดสัญญาณไฟหน้าต่ำเพื่อให้เป็นที่สังเกตของรถคันอื่น และอย่าลืมว่าคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย การสังเกตและการคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อหาทางออกให้กับตัวเองเป็นเรื่องที่คุณจะต้องทำให้ได้ ไม่ใช่การขับรถไปโดยไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะขับรถขึ้นจากน้ำได้ การเปลี่ยนแผนการเดินทางเสียใหม่เป็นเรื่องที่ดีกว่าการที่คุณจะต้องขับไปให้ถึงจุดหมายทีคุณกำหนดไว้ให้ได้ และการที่คุณขับรถอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ ระบบต่างๆ ของรถคุณมันก็พร้อมที่จะเกิดปัญหากับคุณได้เสมอ โดยเฉพาะระบบห้ามล้อ! การวางแผนก่อนการเดินทาง การเตรียมความพร้อมของรถและตัวคุณ จะเป็นการป้องกันที่ดีที่จะช่วยให้คุณขับรถได้อย่างปลอดภัย หากนั่นคือสิ่งที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขับรถในน้ำได้?...

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

Following Distance

Following Distance (เว้นให้ดี ไม่งั้น...ชน!)

หยุดไม่ทันชนท้ายเขา เขาหยุดไม่ทันชนท้ายเรา เรื่องที่ว่านี้ป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ขับรถแบบเว้นระยะกะเอาเอง ไม่เป็นไร พ้น...พ้น ซึ่งก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้บ่อยๆ แต่ก็มีโอกาสสูงในการที่จะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเวลาที่มีเงื่อนไข หรือองค์ประกอบเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า ฝนตก ถนนลื่น ขับด้วยความเร็ว สภาพยางเสื่อม เบรกไม่ดี ง่วง ซึม มึน เมา เครียด ฯลฯ นั่นไง ไม่น่าเลย ชนจนได้... TT

การขับรถตามหลังรถคันหน้า เป็นหน้าที่ของคนขับที่จะต้องเว้นระยะห่างให้เหมาะสมกับสภาพการจราจรที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเมื่อมีองค์ประกอบที่เป็นความเสี่ยงที่ยกตัวอย่างไว้ข้างต้นเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับ พรบ.จราจรทางบก มาตรา 40 ระบุว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุด ก็คงพอจะข้าใจได้ว่าเขาห้ามไม่ให้เราขับรถไปชนใคร และก็ห้ามไม่ให้ใครขับรถมาชนเรา ฉะนั้นการที่ขับรถไปชนเขา หรือเขาขับรถมาชนเรา คนที่เป็นฝ่ายชนก็น่าจะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบโดนข้อหาขับรถโดยประมาทก็ได้ครับ ซึ่งก็ต้องว่ากันไปตามหลักฐานนั่นแหละครับ เอาเป็นว่า อย่าขับรถไปชนกันเลยจะดีกว่ามั้ยครับ

การขับรถเพื่อไม่ให้ไปชนรถคันที่อยู่ข้างหน้าในขณะที่รถแล่น นอกจากจะต้องใช้หลักสามัญสำนึกในเรื่องของความปลอภัยแล้ว การใช้เทคนิคในการทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้า (Following Distance) ก็จะช่วยให้สามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งเทคนิคที่ว่านี้ก็ใช้หลักง่ายๆ โดยการทิ้งระยะห่างให้เห็นล้อหลังของรถคันหน้าไว้เสมอ และถ้าสามารถทิ้งระยะห่างให้ได้ 4 วินาที อันนี้รับรองรองว่าไม่ไปชนรถคันที่อยู่ข้างหน้าแน่นอนครับ (เมื่อรถคันหน้าวิ่งผ่านจุดสังเกตที่กำหนดไว้ข้างทางเช่น เสาไฟฟ้า ต้นไม้ ฯลฯ ให้เริ่มนับ 1001 1002 1003 1004 ถ้านับได้ 1004 ในขณะที่ขับรถมาถึงตรงจุดสังเกต แสดงว่าเราทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าได้ 4 วินาที) อย่างไรก็ตามการทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าไม่ใช่กฎตายตัวครับ หากแต่ต้องนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการจราจร และองค์ประกอบที่มีการเปลี่ยนไปในขณะที่ขับรถด้วยนะครับ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ที่ต้องใช้ความเร็ว มันเป็นระยะที่จะต้อง เว้นกันให้ดีๆ ครับ ไม่งั้น...ชน แน่นอน!

Safety Driving Training

บทความที่ได้รับความนิยม

ผู้ติดตาม